6 วิธีตรวจหา สารเสพติด ประเภทต่าง ๆ

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้ให้ความหมายของ “สารเสพติด” ไว้ว่า สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ ได้แก่ มีความต้องการเสพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เสพมีสุขภาพร่างกายที่ทรุดโทรมลง เมื่อหยุดเสพหรือลดปริมาณการเสพลงมาจะเกิดอาการขาดยา หรือ ถอนยา ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติเนื่องจากมีอาการขาดยา และจะทำทุกทางที่จะทำให้ได้เสพยาหรือสารนั้น

สารเสพติด

การตรวจสารเสพติดสามารถตรวจได้จากปริมาณสารเสพติดที่ตกค้างในร่างกายได้หลายวิธี ได้แก่ ทางปาก(น้ำลาย) ปัสสาวะ เลือด ผม เหงื่อ และลมหายใจ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดในการตรวจหาสารเสพติดคือตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ ด้วย ชุดตรวจสารเสพติด เพราะสามารถเก็บตัวอย่างได้ง่าย

(1) ปัสสาวะ

ในบรรดาวิธีการตรวจหา สารเสพติด ทั้งหมด ปัสสาวะเป็นสารชีววัตถุวิธีที่นิยมใช้กันมากที่สุดและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด อีกทั้งผลจากการตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะยังเป็นที่ยอมรับในชั้นศาลในระดับสากลอีกด้วย การตรวจจากปัสสาวะนั้น เป็นการตรวจเพื่อหาว่าผู้ตรวจมีสารเสพติดหรือไม่ ซึ่งสารดังกล่าวจะตรวจพบได้ในปัสสาวะ ใน 2 – 6 วัน หลังการเสพ ในผู้ที่เสพเป็นประจำ ส่วนผู้ที่เสพไม่ประจำ จะตรวจพบได้ใน 1 – 3 วัน ซึ่งสามารถตรวจได้ด้วยชุดตรวจสารเสพติด แบบหยดหรือจุ่ม

ทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะโดยทั่วไปจะตรวจหาโคเคน กัญชา แอมเฟตามีน ฝิ่น แอลกอฮอล์ และนิโคติน

(2) เลือด

  • การตรวจเลือดนั้นเป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด แต่การตรวจหาสารเสพติดจากเลือดมักจะดำเนินการในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น เนื่องจากต้องได้รับการฝึกอบรมมาเป็นพิเศษ และค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการตรวจหาสารเสพติดจากเลือด จึงไม่ค่อยดำเนินการในเบื้องต้น จะนิยมใช้ ที่ตรวจสารเสพติด จากปัสสาวะมากกว่า
  • การตรวจเลือดสามารถตรวจพบการใช้แอลกอฮอล์ได้นานถึง 24 ชั่วโมงหลังดื่ม นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับโคเคน กัญชา แอมเฟตามีน ฝิ่น ยาบ้า และนิโคตินได้อีกด้วย 

(3) ช่องปาก (น้ำลาย)

  • การตรวจหา สารเสพติด จากน้ำลายเป็นการวิธีการตรวจแบบใหม่ที่สุด ทดสอบโดยใช้ก้านสำลีถูในช่องปากเพื่อเก็บสารคัดหลั่งในช่องปากหรือให้ผู้ตรวจบ้วนน้ำลายลงในถ้วย แล้วส่งไปยังห้องปฏิบัติการ
  • โดยเผยให้เห็นการใช้แอลกอฮอล์ กัญชา โคเคน แอมเฟตามีน และยาบ้าภายในไม่กี่วันหลังการเสพ ยกเว้นกัญชาซึ่งการสามารถตรวจพบเพียง 10 ชั่วโมงหลังการเสพ

(4) ผม

  • การตรวจหาสารเสพติดจากเส้นผมมีข้อดี คือ สามารถตรวจหาตัวอย่างจากผมสำหรับการใช้สารเรื้อรัง ทำความเข้าใจระยะเวลาการใช้ยาของผู้ป่วยในระยะยาว และระบุระยะเวลาได้ชัดเจน โดยทั่วไปแล้ว ตัวอย่างผมจะถูกตัดจากด้านหลังศีรษะโดยใช้กรรไกร ตัดให้ใกล้กับหนังศีรษะมากที่สุดเพื่อประเมินการใช้ยาครั้งล่าสุด สำหรับผู้ป่วยที่ศีรษะล้านหรือโกนศีรษะแล้ว สามารถนำขนออกจากรักแร้ หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายที่ยังไม่ได้โกนได้
  • โดยจะตรวจหาโคเคน กัญชา ฝิ่น ยาบ้า และเฟนไซลิดีน (PCP)

(5) ลมหายใจ

การทดสอบการหายใจ มักเรียกว่าการทดสอบ “Breathalyzer” ซึ่งมีลักษณะเป็นเครื่องขนาดมือถือพกพา  เพื่อตรวจหาปริมาณสารเสพติด นิยมใช้ในการคัดกรองระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของคนทำงานตามสถานประกอบกิจการ รวมถึงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ทำการตรวจผู้ขับขี่ที่ต้องสงสัยว่าเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก โดยไม่จำเป็นต้องใช้การตรวจตัวอย่างเลือดหรือที่ตรวจสารเสพติดจากปัสสาวะ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่สามารถตรวจวัดแล้วทราบผลในทันที

(6) เหงื่อ

  • การตรวจหาสารเสพติดจากเหงื่อ คือ การทดสอบยารูปแบบใหม่ที่ใช้เป็นหลักในการติดตามผู้ป่วยที่กำลังพักฟื้นหรืออยู่ระหว่างการคุมประพฤติ/ทัณฑ์บน วิธีการนี้จะคัดกรองยาผ่านแผ่นแปะที่ใช้กับผิวหนังของผู้ป่วยและทิ้งไว้ 14 วัน ก่อนส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อการตีความ
  • แผ่นแปะจะรวบรวมเหงื่อและวิเคราะห์หากัญชา โคเคน ยาบ้า LSD และเฮโรอีน

วิธีการตรวจสอบหาสารเสพติดนั้นจะขึ้นอยู่กับความสะดวก ระยะเวลา และงบประมาณในการตรวจสอบ หากต้องการทราบผลในเวลาอันรวดเร็ว หรือต้องทราบทันทีในสถานการณ์นั้น ควรตรวจด้วยชุดตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ เพียงการหยดหรือการจุ่ม โดยบริษัทบริษัท เอ็นเจที แอร์ แอนด์ ซี โลจิสติคส์ จำกัด ได้นำเข้าและจำหน่าย ชุดตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ ที่มีคุณภาพและมีใบรับรองผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ FSC , ISO 13485 และ CE Mark (IVD) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ท่านที่สนใจสามารถคลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถามเพิ่มได้ทันที